การไฟฟ้านครหลวง โดยผู้ว่าการในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กรได้กำหนดทิศทางการนำองค์กรเพื่อความยั่งยืน คือ “พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมนวัตกรรม สร้างผู้นำยุคใหม่ ขยายความร่วมมือทางธุรกิจผ่านพันธมิตรที่ดี” รวมทั้งเป็นผู้นำต้นแบบ (Role Model) ด้วยบุคลิกและลักษณะของผู้นำ “GIVE” ประกอบด้วย
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใด การไฟฟ้านครหลวง เราจะอยู่เคียงข้างประชาชน สังคม ชุมชน และทุก ๆ คนทั้งในพื้นที่ที่เรารับผิดชอบและที่สามารถช่วยเหลือได้ตลอดเวลา ด้วยการทำงานที่ฉับไว (Velocity) โดยได้มีการกำหนดการดำเนินการขั้นตอนการจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ ดังนี้
ตัวอย่างเช่น ในการเกิดเพลิงไหม้ในพื้นที่ ชุมชนบ่อนไก่ ในวันที่ 21 มิถุนายน 2565 MEA ได้มีขั้นตอนการดำเนินการ ได้แก่
การสนับสนุนของการไฟฟ้านครหลวง
เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ
เมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ การไฟฟ้านครหลวงได้เร่งส่งพนักงานดำเนินการช่วยเหลือด้านระบบไฟฟ้าในพื้นที่เพื่อเร่งตัดกระแสไฟฟ้าในการอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานดับเพลิง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ประชาชน และดำเนินการจ่ายไฟกลับคืนสู่ประชาชนให้เร็วที่สุด พร้อมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างในพื้นที่เพื่อความปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็ได้ประสานงานร่วมกับผู้แทนชุมชน ติดตามข่าวสารอัปเดตตลอดเวลาจากช่องทาง Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter และ จส.100 โดยสอบถามข้อมูล สถานการณ์ปัจจุบัน บริเวณจุดเกิดเหตุ จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ และจุดอพยพ เมื่อเหตุการณ์เพลิงไหม้ในพื้นที่ชุมชนบ่อนไก่สงบลงในเวลา 14.30 น. การไฟฟ้านครหลวงได้ดำเนินการส่งมอบถุงผ้าขนาดใหญ่สำหรับใส่ของผู้ได้รับผลกระทบและต้องอพยพไปยังศูนย์พักพิงชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พร้อมยังคงสื่อสารข้อมูลจำนวนผู้อพยพ ความต้องการภายในศูนย์พักพิงฯ ระยะเวลาที่อยู่ในศูนย์พักพิงฯ ตลอดเวลา พร้อมเร่งดำเนินการให้ไฟฟ้าและแสงสว่างสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างปลอดภัยในพื้นที่ให้เร็วที่สุด
การสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว
ในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ การไฟฟ้านครหลวงได้ช่วยดูแลอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบ สอบถามและตรวจสอบระบบไฟฟ้าในพื้นที่ และมอบเครื่องอุปโภคที่จำเป็น เช่น เสื้อ หมอน ผ้าขาวม้า และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ให้แก่ผู้ประสบภัย ณ ศูนย์พักพิงฯ ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ เขตปทุมวัน กทม. และบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกด้านโดยเฉพาะด้านระบบไฟฟ้า เพื่อดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในพื้นที่โดยรอบในการป้องกันผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น รวมถึงการดูแลระบบไฟฟ้าในพื้นที่ศูนย์พักพิงฯ เพื่อความปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดจนตรวจสอบสาเหตุของการเกิดอัคคีภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ชี้แจงร่วมกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่เข้าไปเยี่ยมและดูแลผู้ประสบภัย ณ ศูนย์พักพิงฯ รับทราบและให้คำมั่นในการเน้นย้ำนโยบายการดูแลระบบไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในชุมชน
การดำเนินการภายหลังเหตุการณ์ไม่ปกติ
เมื่อระบบไฟฟ้าในพื้นที่โดยรอบทั้งพื้นที่เหตุเพลิงไหม้และพื้นที่ศูนย์พักพิงฯ สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างปลอดภัยแล้ว การไฟฟ้านครหลวงได้ดำเนินการสอบถามหารือร่วมกับประชาชนและผู้แทนชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ พบว่า การสนับสนุนด้านอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม มีหน่วยงานที่สนับสนุนในพื้นที่อย่างเพียงพอแล้ว แต่ยังมีความไม่สะดวกในด้านการอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย รวมถึงยังขาดอุปกรณ์ที่จำเป็นในการอาบน้ำอยู่มาก ประกอบกับระยะเวลาที่ต้องอยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว รวมถึงการฟื้นฟูพื้นที่ประสบเหตุเพลิงไหม้ ที่ประเมินจากผู้เกี่ยวข้องว่ามีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน การดูแลสุขอนามัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องได้รับการสนับสนุนโดยเร่งด่วน ซึ่งการไฟฟ้านครหลวง ได้ดำเนินการสนับสนุนชุดอุปกรณ์อาบน้ำและทำความสะอาดร่างกาย โดยมีผลิตภัณฑ์บางส่วน เช่น ยาสระผมและเจลอาบน้ำ ที่การไฟฟ้านครหลวง สนับสนุนให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายในพื้นที่ เป็นผู้ดำเนินการผลิตและมอบให้กับผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนให้วิสาหกิจในชุมชนมีรายได้หมุนเวียนเพิ่มขึ้น พร้อมช่วยเยียวยาและอำนวยความสะดวกให้ผู้ประสบภัยได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกันการไฟฟ้านครหลวงยังคงดำเนินการดูแลและเฝ้าระวังระบบไฟฟ้าในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด
บทเรียนในการดำเนินการต่อไป
เหตุการณ์ไม่ปกติหลายเหตุการณ์เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวแก้ไข สนับสนุนและดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่ปกติให้รวดเร็วและตรงวัตถุประสงค์มากที่สุด โดยเหตุการณ์เพลิงไหม้ในครั้งนี้ การไฟฟ้านครหลวงได้สนับสนุนสิ่งของที่จำเป็นแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ มากกว่า 50 ครัวเรือน พร้อมดูแลระบบไฟฟ้าภายในพื้นที่ศูนย์พักพิงฯ โดยในอนาคตการไฟฟ้านครหลวงจะทบทวนแผนการบำรุง ดูแลรักษา ในส่วนมาตรการแก้ไขและป้องกัน โดยเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบสายไฟในพื้นที่ให้มากขึ้น เร่งดำเนินการนำนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในระบบไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนประชาชนและเจ้าหน้าที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติทั้งเหตุการณ์เพลิงไหม้และเหตุการณ์ไม่ปกติอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น และมีความจำเป็นในการดับไฟหรือป้องกันระบบไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ พร้อมกับจัดหาสิ่งของสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงเหตุการณ์ไม่ปกติให้ตรงกับความต้องการและถึงมืออย่างรวดเร็วที่สุด
และสิ่งนี้คืออีกเหตุการณ์ ที่ผู้นำการไฟฟ้านครหลวงมีการบริหารจัดการเหตุการณ์ไม่ปกติ ให้กลับมาดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข โดยทำหน้าที่เป็นองค์กรที่เป็น “พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร” อย่างยั่งยืนต่อไป
Comments